publishing

Env Activist Media: สื่อ เปลี่ยน สิ่งแวดล้อม

คู่มือการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงขึ้นจากหนังสือ “Activist Media” ผลิตโดยมูลนิธิสื่อประชาธรรมตั้งแต่ปี 2559 โดยครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากกองบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นิทรรศการภาพถ่าย SDGs “The Depth of Field”

ขอเชิญชวนสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจร่วมเวทีเสวนา “นิทรรศการภาพถ่าย SDGs l The Depth of Field หมุดหมายการพัฒนาในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน” ในวันที่ 20 มิถุนายน 2566 เวลา 9.30-16.00 น. ณ มิวเซียมสยาม

ฝุ่นภาคเหนือมาจากไหน แล้วใครต้องรับผิดชอบ

เสวนาว่าด้วยสถานการณ์ฝุ่นพิษในภาคเหนือ ที่ทวีความรุนแรงมากว่า 10 ปี กระทั่งวันนี้นอกจากปัญหาไม่คลี่คลายแล้วยังหนักหน่วงยิ่งขึ้นจากหมอกควันข้ามพรมแดน

“อยากจะให้กำลังใจนักข่าวที่เล่าเรื่องคำนึงถึงผู้คนและคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม ทางระบบนิเวศ แล้วก็เชื่อมโยงกับคนที่เสียเปรียบ มีเรื่องความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม และสื่อให้มันย่อยง่าย”

สุรชัย ตรงงาม
เลขาธิการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

คำถามที่พบบ่อย

รู้จักชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้น เพื่อทำความเข้าใจว่าเราเป็นใคร มีบทบาทหน้าที่เช่นใด ทำงานอย่างไร และมีสมาชิกชมรมเป็นใครบ้าง

ในช่วงปี 2536 เป็นต้นมา สื่อต่างๆ ให้ความสนใจในข่าวสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยสื่อแต่ละแห่งมีทีมข่าวสิ่งแวดล้อมขึ้นมาเฉพาะ มีพื้นที่ค่อนข่างแน่นอน และข่าวสิ่งแวดล้อมมีบทบาทค่อนข้างมากในยุคนั้น จึงเกิดแนวคิดว่า การทําข่าวสิ่งแวดล้อมควรมีการร่วมมือกันระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเอง เพื่อให้ข่าวได้รับการนําเสนออย่างหลากหลาย และสามารถผลักดันให้เกิดผลกระทบต่อสังคมจริง เพื่อให้เกิดความตระหนักและการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังเป็นการเสริมศักยภาพของนักข่าว สิ่งแวดล้อมให้สามารถทําข่าวสิ่งแวดล้อมได้ลึกซึ้งและรอบด้านมากขึ้น

ปี 2537 สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันเป็น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย) เป็นตัวกลางประสานงานกับผู้สื่อข่าวสายสิ่งแวดล้อมในสื่อต่างๆ เพื่อหาแนวทางจัดตั้งเครือข่ายผู้สื่อข่าวสายสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์หลักสองประการ คือ 1) เพื่อเพิ่มพูนทักษะการทําข่าวสิ่งแวดล้อมแก่ผู้สื่อข่าวสายสิ่งแวดล้อมและผู้สื่อข่าวสายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการมีเครือข่ายนักข่าวสายสิ่งแวดล้อม

ชมรมมีกิจกรรมต่างๆ ทั้งการ ประชุม เสวนา สัมมนา โดยมีแกนนําจัดตั้งชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดําเนินการ เช่น จัดเสวนาเรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อมใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 การอภิปรายเกี่ยวกับโครงการแก่งเสือเต้น ฯลฯ

ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ดําเนินการภายใต้สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยมีคณะกรรมการบริหารทั้งหมด 12 คน ได้แก่

  1. ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล นิตยสารสารคดี
  2. โกวิท โพธิสาร Way Magazine
  3. อุดมเดช เกตุ แก้ว หนังสือพิมพ์เพชรภูมิ
  4. ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร The Mekong Butterfly
  5. จิราพร คูหากาญจน์ รอยเตอร์ส (Reuters)
  6. ธิติ ปลีทอง Radio Free Asia
  7. วลัยลักษณ์ ชมโนนสูง ThaiPBS
  8. พนม ทะโน IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง
  9. จามร ศรเพชร นรินทร์ นักข่าวพลเมือง ThaiPBS
  10. ภานุมาศ สงวนวงษ์ Thai News Pix
  11. ยศพนธ์ เกิดวิบูลย์ Voice TV
  12. อพิเชษฐ์ สุข แก้ว สมาคมสื่อพลเมือง

ซึ่งจะมีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารชมรมฯทุกสองเดือน และสํานักข่าวสิ่งแวดล้อม (Greennews) เป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ที่ทําหน้าที่ผลิตข่าวและเผยแพร่ข่าวสิ่งแวดล้อมภายใต้การดําเนินงานตาม หลักวิชาชีพสื่อมวลชน มีระบบบรรณาธิการที่ทําหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเนื้อหาข่าวซึ่งเป็นอิสระจากคณะกรรมการบริหารชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม

คณะกรรมการชุดนี้หมดวาระเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานสื่อสารเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการสนับสนุนชมรมฯ ตามความพร้อมและความสนใจของคุณ

  • สนับสนุนเงินทุน
  • สนับสนุนบุคลากรและอุปกรณ์
  • สนับสนุนเครือข่ายความคิด
สนับสนุนเรา

สนับสนุนการทำกิจกรรมของชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม