ในช่วงปี 2536 เป็นต้นมา สื่อต่างๆ ให้ความสนใจในข่าวสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยสื่อแต่ละแห่งมีทีมข่าวสิ่งแวดล้อมขึ้นมาเฉพาะ มีพื้นที่ค่อนข่างแน่นอน และข่าวสิ่งแวดล้อมมีบทบาทค่อนข้างมากในยุคนั้น จึงเกิดแนวคิดว่า การทําข่าวสิ่งแวดล้อมควรมีการร่วมมือกันระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเอง เพื่อให้ข่าวได้รับการนําเสนออย่างหลากหลาย และสามารถผลักดันให้เกิดผลกระทบต่อสังคมจริง เพื่อให้เกิดความตระหนักและการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังเป็นการเสริมศักยภาพของนักข่าว สิ่งแวดล้อมให้สามารถทําข่าวสิ่งแวดล้อมได้ลึกซึ้งและรอบด้านมากขึ้น

ปี 2537 สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันเป็น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย) จึงได้เป็นตัวกลางประสานงานกับผู้สื่อข่าวสายสิ่งแวดล้อมในสื่อต่างๆ เพื่อหาแนวทางจัดตั้งเครือข่ายผู้สื่อข่าวสายสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์หลักสองประการ คือ 1) เพื่อเพิ่มพูนทักษะการทําข่าวสิ่งแวดล้อมแก่ผู้สื่อข่าวสายสิ่งแวดล้อมและผู้สื่อข่าวสายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการมีเครือข่ายนักข่าวสายสิ่งแวดล้อม หลังจากนั้นจึงเริ่มมีกิจกรรมต่างๆ ทั้งการ ประชุม เสวนา สัมมนา โดยมีแกนนําจัดตั้งชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดําเนินการ เช่น จัดเสวนาเรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อมใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 การอภิปรายเกี่ยวกับโครงการแก่งเสือเต้น ฯลฯ

ในปี 2540 ที่ประชุมใหญ่ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ได้เชิญวสันต์ เตชะวงศ์ธรรม บรรณาธิการข่าวสิ่งแวดล้อมและชุมชนเมือง หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เป็นประธาน และมีกรรมการจากสื่อต่างๆ อีก 6 คน มีนักวิชาการและนักข่าวอาวุโสในระดับ บรรณาธิการเป็นที่ปรึกษาอีก 6 คน ดําเนินกิจกรรมของชมรมตามวัตถุประสงค์ในการพยายามเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสิ่งแวดล้อม เสริมศักยภาพนักข่าวสิ่งแวดล้อม และสร้างเครือข่ายให้กว้างขวางมากขึ้น โดยได้รื้อฟื้นโครงการจัดทําจุลสารพิราบเขียว ซึ่งเป็นจุลสารเผยแพร่ข่าวสารสิ่งแวดล้อมขึ้นมาใหม่ให้สามารถตีพิมพ์ได้ทุกเดือน และได้เริ่มดําเนินโครงการจัดทําหนังสือ “เมื่อปลาจะ กินดาว” ซึ่งเป็นรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมประจําปีดําเนินงานต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปี 2562 โดยได้รับการสนับสนุน จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังคงดําเนินกิจกรรมเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง คือจัดเวทีสัมมนาเพื่อให้นักข่าวสามารถ เข้าถึงแหล่งข่าวและข้อมูล เมื่อเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมสําคัญๆ ขึ้น

ปัจจุบัน ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมดําเนินการภายใต้สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยมีคณะกรรมการบริหารทั้งหมด 12 คน ได้แก่

  1. ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล นิตยสารสารคดี
  2. โกวิท โพธิสาร Way Magazine
  3. อุดมเดช เกตุ แก้ว หนังสือพิมพ์เพชรภูมิ
  4. ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร The Mekong Butterfly
  5. จิราพร คูหากาญจน์ รอยเตอร์ส (Reuters)
  6. ธิติ ปลีทอง Radio Free Asia
  7. วลัยลักษณ์ ชมโนนสูง ThaiPBS
  8. พนม ทะโน IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง
  9. จามร ศรเพชร นรินทร์ นักข่าวพลเมือง ThaiPBS
  10. ภานุมาศ สงวนวงษ์ Thai News Pix
  11. ยศพนธ์ เกิดวิบูลย์ Voice TV
  12. อพิเชษฐ์ สุข แก้ว สมาคมสื่อพลเมือง

ซึ่งจะมีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารชมรมฯทุกสองเดือน และสํานักข่าวสิ่งแวดล้อม (Greennews) เป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ที่ทําหน้าที่ผลิตข่าวและเผยแพร่ข่าวสิ่งแวดล้อมภายใต้การดําเนินงานตาม หลักวิชาชีพสื่อมวลชน มีระบบบรรณาธิการที่ทําหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเนื้อหาข่าวซึ่งเป็นอิสระจากคณะกรรมการบริหารชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม